|
|
|
|
พระูญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม)
(๒๔๓๒-๒๕๐๔)
วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา |
|
|
|
|
|
นามเดิม |
|
สิงห์ บุญโท |
|
|
เกิด |
|
วันจันทร์ที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๒ |
|
|
บ้านเกิด |
|
บ้านหนองขอน ตำบลหัวตะพาน อำเภออำนาจเจริญ อุบลราชธานี (ปัจจุบันคือ อำเภอหัวตะพาน |
|
|
บิดามารดา |
|
เพี้ย (พระยา) อัครวงศ์ (อินทวงศ์) หรือนายอ้วน และนางหล้า |
|
|
พี่น้อง |
|
เป็นบุตรคนที่ ๔ |
|
บรรพชา |
|
อายุ ๑๕ ปี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๖ ที่วัดบ้านหนองขอน ตำบลหัวตะพาน และบรรพชาซ้ำเป็นสามเณรธรรมยุต |
|
|
|
ที่วัดสุปัฏนารามพ.ศ. ๒๔๔๙ |
|
|
อุปสมบท |
|
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ ที่วัดสุปัฏนาราม อำเภอเมือง อุบลราชธานี โดย สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) |
|
|
|
|
เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายา ขันตยาคโม |
|
|
เรื่องราวในชีวิต |
|
เมื่ออุปสมบทแล้ว สอบได้วิชาบาลีไวยากรณ์จากวัดสุปัฏนาราม และสอบได้นักธรรมตรี เมื่อ ปี ๒๔๕๕ |
|
|
|
จากนั้นท่านจึงได้เทศนาสั่งสอนประชาชน จนกระทั้งท่านได้พบ ข้อความในหนังสือเทวสูตรว่า การบรรพชาอุปสมบทที่บกพร่อง คือ การบวชแล้วไม่มีการปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ทำให้ท่านเกิดสำนึกในตน ออกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนับตั้งแต่นั้น
เมื่อพระอาจารย์ มั่น ภูริทัตโต เดินทางมากลับจากถ้ำสาริกา จังหวัดนครนายก มาจำพรรษาที่วัดบูรพา เมืองอุบลท่านจึงได้สมัครเป็นศิษย์ ได้ศึกษาปฏิบัติกรรมฐาน อย่างไม่ท้อถอยและได้ติดตามพระอาจารย์มั่น เดินธุดงค์ไปตามป่าเขาต่างๆ จนได้รับหน้าที่อบรมสั่งสอนพระเณรทั้งหมด และนำคณะพระสงฆ์ออกธุดงค์เผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่วทุกชนบททั้งภาคอีสาน
เมื่อท่านอาจารย์มั่น มรณภาพไปแล้ว ท่านอาจารย์สิงห์ก็เป็นอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ จนเมื่อปี ๒๔๙๕ ได้สมณศักดิ์ เป็นที่พระครูญาณวิศิษฏ์ และในปี ๒๕๐๐ได้ รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระญาณวิศิษฎ์สมิทธิวีราจารย์ จนกระทั้งปี ๒๕๐๔ หลังจากเสร็จจากผูกพัทธสีมาวัดป่าสาลวัน ท่านก็ป่วยหนักด้วยโรคมะเร็งในลำไส้ |
มรณภาพ |
|
วันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๔ อายุ ๗๒ ปี |
ข้อมูลพิเศษ |
|
* ท่านเป็นศิษย์รุ่นแรกของพระอาจารย์มั่น ได้อยู่ใกล้ชิดนานถึง ๑๒ ปี |
|
|
ธรรมโอวาท : |
|
|
.... กายนี้คือก้อนทุกข์ กายนี้เป็นที่หมายให้พ้นเสียจากทุกข์ ฝึกสติปัญญาให้ดีแล้ว มาพิจารณากายนี้ให้แจ้ง ก็จะพ้นทุกข์ได้.....
...กำหนดจำเพาะจิตผู้รู้ เพ่งพินิจพิจารณาให้เห็นพื้นแผ่นดิน กว้างใหญ่เท่าไร เป็นที่อาศัยของสัตว์ทั้งโลก ก็ยังต้องฉิบหายด้วยน้ำ ด้วยลม ด้วยไฟ ยกวิปัสสนาละลายแผ่นดินนี้เสียให้เห็น เป็นสภาวธรรม เพียงสักว่าเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเท่านั้น รวบรวมเอาแต่จิต คือผู้รู้ ตั้งไว้ให้เป็นเอกจิต เอกธรรม สงบนิ่งแน่วอยู่ และวางลงเป็นอุเบกขา เฉยอยู่กับที่ คราวนี้จะแลเห็นจิตนั้นแจ่มแจ้งยิ่งขึ้นทีเดียว ก้างล่วงจากนิมิต ได้ดี มีกำลังให้แลเห็น อำนาจอานิสงส์ของจิต ที่ได้ฝึกหัดสมาธิมาเพียงชั้นนี้ ก็พอมีศรัทธาเชื่อในใจของตน ในการที่จะกระทำความเพียรยิ่ง ๆ ขึ้นไป วิธีนี้ 3 นี้ เรียกว่า ปหานปริญญา แปลว่า ละวางอารมณ์เสียได้แล้ว...
...ให้ตรวจดูจิตเสียก่อน ว่าจิตคิดอยู่ในอารมณ์อะไร ในอารมณ์อันนั้นเป็น อารมณ์ที่น่ารัก หรือน่าชัง เมื่อติดใจในอารมณ์ที่น่ารัก พึงเข้าใจว่าจิตนี้ลำเอียง ไปด้วยความรัก เมื่อติดในอารมณ์ที่น่าชัง พึงเข้าใจว่าจิตนี้ลำเอียงไปด้วยความ ชัง ไม่ตั้งเที่ยง พึงกำหนดส่วนทั้งสองนั้น ให้เป็นคู่กันเข้าไว้...
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|